|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป อุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมากว่า ๒๐๐ ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำ ซึ่งเป็นบุตรหลาน พระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแห่งนคร เวียงจันทน์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราชและต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้นพ.ศ. ๒๓๒๓ พระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์มาพระราชทานนามเมืองว่า อุบลราชธานี ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรกซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระปทุมวงศา เมืองอุบลราชธานีมีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง ๔ คน ตราบจนถึงปีพ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัดมาปกครองดูแลจนถึงทุกวันนี้
| ทุ่งศรีอุดม ปราสาทบ้านเบ็ญ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๖๓ กิโลเมตร บนเส้นทางเดชอุดม-น้ำยืน ปราสาทบ้านเบ็ญเป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อมประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๓ หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง ๙ องค์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบอาจกำหนดอายุปราสาทหลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖
|
|
บุณฑริก น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข ๒๓๖๙ ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง ๒๖ กิโลเมตร ถึงกม.ที่ ๒๙ มีทางแยกขวาไปอีก ๖ กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน
| พิบูลมังสาหาร วัดภูเขาแก้ว อยู่บนเนินเขา ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ๔๔ กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ ๑ กิโลเมตร ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย
|
|
วารินชำราบ วัดหนองป่าพง เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงปู่ชา (พระโพธิญาณเถร) ได้ทำการบุกเบิกปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมและได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีนั้น และเปลี่ยนสภาพเป็นวัดในโอกาสต่อมา บริเวณวัดสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นอาคารที่จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท เปิดให้เข้าชม ตอนเช้า เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ น. ตอนบ่าย เวลา ๑๔.๐๐-๑๘.๐๐ น. และยังมีเจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชา การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๗๘ ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ ๖ กิโลเมตรมีทางแยกขวาอีก ๒ กิโลเมตร
| ศรีเมืองใหม่ ภูหล่น ตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง ห่างจากตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เป็นภูเขาขนาดย่อมมีต้นไม้ปกคลุมเป็นระยะสลับกับโขดหินน้อยใหญ่ บริเวณนั้นมีถ้ำซึ่งสร้างโดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยใช้เป็นที่วิปัสสนาธรรม บริเวณโดยรอบเย็นสบาย เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและปฏิบัติธรรม
|
|
สถานที่พัก สถานที่พัก , เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ
| สิรินธร เขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง ๗๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ แยกขวาที่กิโลเมตร ๗๑ ไปอีก ๕๐๐ เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร อำนวยประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริมทะเลสาบมีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี โทร. ๐ ๒๔๓๖ ๓๒๗๑-๒ หรือ ที่เขื่อนสิรินธรโทร.๐ ๔๕๓๖ ๖๐๘๑-๓
|
|
อำเภอเมือง ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม เดิมเป็นที่ทำนาของเจ้าเมือง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้งดการทำนาที่ทุ่งศรีเมือง เพื่อรักษาไว้ให้เป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และเป็นที่จัดเทศกาลงานบุญต่างๆ ทุ่งศรีเมืองมีประตูทางเข้า ๔ ทิศ คือ ประตูอุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในทุ่งศรีเมือง มีปฏิมากรรมจำลองเทียนพรรษาแกะสลักที่งดงาม สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น เปิดตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐-๒๒.๐๐ น. นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองมีสถานที่น่าสนใจที่สำคัญคือ
| เขื่องใน ธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๖ กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๓ (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี (กม.๒๖๘) มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก ๕ กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง
|
|
โขงเจียม แก่งตะนะ มีพื้นที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ ๗๕ กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง ๒๑๗๓ อีก ๑๓ กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๒๒๒ ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ ๔ กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก ๑๒ กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด) ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้
|