|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป พะเยาเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
| จุน โบราณสถานเวียงลอ (เมืองพระลอ) อยู่ห่างจากอำเภอจุน ตามทางหลวงหมายเลข 1021 ถึงบ้านห้วยงิ้ว ประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกไปเป็นทางดินถึงบ้านน้ำจุนอีกประมาณ 12 กิโลเมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองในสมัยพ่อขุนงำเมือง เพราะปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้าง อยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง และใกล้เวียงลอนี้ยังเป็นจุดที่ลำน้ำจุน ไหลลงสู่แม่น้ำอิงด้วย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สบอิง
|
|
ดอกคำใต้ ดอกคำใต้ คือ ดอกกระถินสีเหลือง ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดย่อม มีลักษณะเป็นพุ่มใบเล็กเป็นฝอย ดอกสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมกรุ่นละไม ช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงปีใหม่ ดอกคำใต้ก็จะผลิดอกเหลืองสะพรั่งไปทั้งต้น งดงามมาก
| ภูซาง อุทยานแห่งชาติภูซาง ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 178,123 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้น อุทยานแห่งชาติภูซางยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพะเยา
|
|
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ตัวเมือง, พะเยา ตั้งอยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นอาคารศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงาม จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น เครื่องปั้นดินเผาอายุ 500 กว่าปี ฉัตรทองคำอายุ 500 กว่าปี ซากฟอสซิลช้าง 4 งา อายุ 15 ล้านปี เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา เรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา
| อำเภอเมือง อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801-1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง
|
|
เชียงคำ เป็นอำเภอหนึ่งที่มีความเจริญทัดเทียมกับอำเภอเมือง มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติและโบราณสถานวัดวาอารามที่มีความสวยงามหลายแห่ง
|